ทำไมถึงต้องรอหลังจากเปลี่ยนค่า Name Server ของโดเมน ?

From P&T Knowledgebase
Jump to navigation Jump to search
  1. ประการแรกที่คุณต้องเข้าใจคือ – เวลาที่คุณเปลี่ยน Name Server ของโดเมนเนม มันคือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ฐานข้อมูลที่ต่างประเทศ (Registry) ครับ
  2. แต่เวลาคุณเปิดเว็บไซต์ คอมพิวเตอร์ของคุณไม่ได้เช็คข้อมูลที่ Registry โดยตรงครับ ว่าโดเมนเนมที่เปิดนั้น มี Name Servers ชี้ไปที่ไหน
  3. สิ่งที่มีหน้าที่ไปเช็คข้อมูล Name Servers ที่ Registry คือ ... DNS Server ครับ
  4. คอมพิวเตอร์ ที่คุณใช้จะไปขอข้อมูลจาก DNS Server อีกทอดหนึ่ง
  5. ด้วยหน้าที่ของ DNS Server จึงทำให้มี request ขอข้อมูลของโดเมนต่างๆ เข้ามาจำนวนมาก มันจึงไม่สามารถที่จะไปเช็คข้อมูลจริงได้ทุกครั้ง ดังนั้น DNS Server จึงมีฐานข้อมูลของตัว ที่เก็บว่าโดเมนเนมไหนชี้ไปที่ไหนอย่างไร เพื่อที่จะได้สามารถตอบข้อมูล ที่ถูกถามเข้ามาได้อย่างรวดเร็ว. การทำเช่นนี้ ทำให้ข้อมูลที่อยู่ใน DNS Server ไม่เป็น Real-time ถึงแม้คุณจะเปลี่ยน Name servers ของโดเมนไปแล้ว แต่ข้อมูลโดเมนเนมของคุณในฐานข้อมูลของ DNS Server ยังคงเดิม จนกว่า DNS Server จะทำการอัพเดท. ซึ่งความถี่ในการอัพเดทฐานข้อมูลของ DNS Server แต่ละที่ก็ไม่เท่ากัน (แต่อย่างช้าที่สุด คือ ไม่เกิน 48 ชม.)


โดยปรกติแล้ว ถ้าคุณไม่ได้ไปปรับค่าอะไรกับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่าย DNS Server ที่คุณใช้ จะเป็นของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือเรียกว่า ISP (Internet Service Provider) และ ISP แต่ละเจ้า ก็มี DNS Server หลายๆ อันอีกด้วย ดังนั้นคุณไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคุณเข้าได้แล้ว แต่เพื่อนคุณที่ใช้อินเตอร์เน็ตเดียวกันยังเข้าไม่ได้. คำอธิบายของเรื่องนี้ก็คือ DNS Server แต่ละที่อัพเดทฐานข้อมูลของมัน ด้วยความถี่ที่ไม่เหมือนกัน ไม่พร้อมกัน. แต่มันใจได้เลยว่าไม่เกิน 48 ชม. ถ้าเกิน 48 ชม.ไปแล้ว และยังเข้าไม่ได้ แสดงว่าต้องเกิดจากสาเหตุอื่นๆ แล้วล่ะครับ.


คุณสามารถตั้งให้คอมพิวเตอร์ของคุณ เลือกใช้ DNS Server ที่อัพเดทฐานข้อมูลเร็วๆ ได้ เช่น Google Public DNS และ OpenDNS เป็นต้น